อมตะ ไรเตอร์ อวอร์ด ครั้งที่ 10/2563
รางวัล “นักเขียนอมตะ” ก่อตั้งขึ้นโดยมูลนิธิอมตะ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมบุคคลที่ทำงานด้านวรรณกรรม บุคคลที่สร้างคุณค่าผ่านงานประพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รางวัล “นักเขียนอมตะ” จึงถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่เปี่ยมด้วยคุณค่า มาตรฐาน และคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ อิสระ และ เชิดชูเกียรติประวัตินักเขียนไทยที่มีความสามารถให้ปรากฏ และถือเป็นกำลังใจแก่นักเขียนไทย ผู้อุทิศตน ทุ่มเท สร้างสรรค์ผลงาน ที่มีคุณค่าอันควรแก่การนำผลงานเผยแพร่สู่สากล
ในปีนี้มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านวรรณศิลป์ จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย
1. | ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ | ประธานกรรมการ | |
2. | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี (ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์) | กรรมการ | |
3. | นางชมัยภร บางคมบาง (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์) | กรรมการ | |
4. | รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร | กรรมการ | |
5. | นางกนกวลี กันไทยราษฎร์ (พจนปกรณ์) | กรรมการ | |
6. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา | กรรมการ | |
7. | รองศาสตราจารย์ ดร.สุปาณี พัดทอง | กรรมการและเลขานุการ |
โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
ข้อ 1 เป็นนักเขียนสัญชาติไทยและมีชีวิตอยู่ในวันที่เสนอชื่อ
ข้อ 2 มีผลงานเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องเป็นภาษาไทย
ข้อ 3 ผลงานดังกล่าวต้องมีคุณค่าสร้างสรรค์สังคมและมวลมนุษยชาติ
คำประกาศเกียรติคุณ นางสุภา สิริสิงห นามปากกา “โบตั๋น”
ผู้ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” ประจำพุทธศักราช 2566
นักเขียนหญิงหยัดสู้ | เพื่อหญิง | ||
ยืนทุกฝันอันจริง | ผ่านถ้อย | ||
โศกหมองมิประวิง | สารสื่อ | ||
หวังเพื่อสังคมคล้อย | ทราบแล้วใจมี | ||
ปักหมุด "จดหมาย" ฉบับนี้ | "จากเมืองไทย" | ||
เขียนจากสุดหัวใจ | สื่อสิ้น | ||
"ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด" ใคร | ทันเทียบ | ||
และอีกนับร้อยชิ้น | ต่างสร้างพลังสยาม | ||
"โบตั๋น"นามหนึ่งนี้ | ชูใจ | ||
เชื่อมเรื่องจีนกับไทย | ประดับหล้า | ||
เพื่อคนยากคนไร้ | สะท้อนสืบ | ||
สุดยอด "อมตะ"กล้า | แกร่งก้าววงวรรณ |
นางสุภา สิริสิงห นามปากกา โบตั๋น เป็นนักเขียนผู้ได้รับการยอมรับและชื่นชมยกย่องว่าเป็นนักเขียนสตรีผู้สร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่องยาวนานกว่า 60 ปี ผลงานจำนวนมากของโบตั๋น มีทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน รวมทั้งงานแปล นวนิยายจำนวนมากมีผู้นำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เช่น ผู้หญิงคนนั้นช็อบุญรอด ทองเนื้อเก้า ตราไว้ในดวงจิต ผลงานหลายเรืองได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ เช่น นวนิยายเรื่อง จุดหมายจากเมืองไทย (2592) ได้รับรางวัล ส.ป.อ. (สนธิสัญญาป้องกันเอเซียอาคเนย์) และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากว่า 100 ภาษา
วรรณกรรมของโบตั๋นส่วนใหญ่นำเสนอปัญหาสังคมร่วมสมัย เช่น ปัญหาผู้หญิง ปัญหาเด็กและวัยรุ่น ปัญหาคนรากหญ้า โดยสื่อสาระสำคัญว่าสังคมจะจะจรรโลงอยู่ได้ด้วยคุณความดีที่เกิดจากการยึดมั่นในความกตัญญู การเชิดชูการทำงานและความมุมานะต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ อย่างอดทน อีกทั้งยังทำให้ผู้อ่านตระหนักว่าครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดที่จะกำหนดพฤติกรรมและอนาคตของเยาวชน
นวนิยายจำนวนมากนับ 1,000 เรื่อง ของโบตันเผยให้เห็นหลากหลายมุมของสังคมไทยในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสังคมอย่างลุ่มลึก คมคาย และตรงไปตรงมา นวนิยายบางเรื่องเป็นหมดหมายสำคัญของพัฒนาวงการรรรณกรรมไทย เช่น จดหมายจากเมืองไทย เป็นผลงานนำร่องที่นำเสนอเรืองราวของคนจีนโพ้นทะเลในเมืองไทย ด้วยท่วงทำนองเขียนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเฉียบคม ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เป็นต้นธารของนวนิยายแนวนี้ เรื่องผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด โบตั๋น นำเสนอภาพนางเอกที่ต่างไปจากขนบนนวนิยายไทยก่อนหน้าโดยสินเชิง ทั้งรูปลักษณ์และรสนิยมการแต่งกาย แม้ต้องเผชิญกับอคติของสังคมแต่ยังคงยึดมั่นในการทำงานหนักอย่างสุจริต อย่างไม่ย่อท้อ วรรณกรรมของโบตั๋นจึงเป็นบันเทิงคดีที่ทั้งสนุก สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่าอีกทั้งยังสร้างมิติใหม่ๆ ให้วงการวรรณกรรมไทย
ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ "นางสุภา สิริสิงห" นามปากกา "โบตั๋น" ได้รับรางวัล "นักเขียนอมตะ" ประจำปีพุทธศักราช 2566